การจำแนกพื้นที่อันตรายสำหรับการเลือกใช้มอเตอร์กันระเบิด
ริเวณอันตราย ได้แก่ สถานที่ซึ่งเกิดแก๊ส ที่ติดไฟหรือมีแก๊สออกมาตลอดเวลา รวมไปจนถึงฝุ่นซึ่งอาจเป็นเหตุให้เกิดไฟลุกหรือเกิดการระเบิด เช่น โรงกลั่นน้ำมัน, โรงงานพ่นสี, โกดังเก็บสินค้าไซโล, โรงงานพ่นสี, โรงงานเฟอร์นิเจอร์, โรงงานแป้งมัน, โรงงานทอผ้า, โรงงานผลิตวัตถุระเบิดและดินปืน เป็นต้น โดยบริเวณดังกล่าวจะต้องมีการเลือกใช้มอเตอร์กันระเบิด ซึ่งมักมีการจำแนกเป็นประเภท (Class), แบบที่ (Division), และแบบโซน (Zone) ซึ่งจะมีความหมายดังนี้
การจำแนกเป็นประเภท (Class)
Class I : ก๊าซหรือไอ (Gasses or Vapors)
Class II : ฝุ่นที่ลุกไหม้ได้ (Combustible Dusts)
Class III : เส้นใยหรือละออง (Fiber or Flyings)
การจำแนกเป็นแบบ ZONE ตามมาตรฐาน IEC
Zone 0 (GAS) : บริเวณที่มีแก๊สกระจายตัวอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ซึ่งไม่อนุญาติให้ใช้มอเตอร์
Zone 1 (GAS) : บริเวณที่ในการทำงานปกติอาจมีแก๊ส ที่มีความเข้มข้นพอที่จะเกิดระเบิดได้บ่อยๆ เนื่องจากการซ่อมแซมบำรุงรักษา หรือรั่ว
Zone 2 (GAS) : สถานที่ซึ่งในภาวะทำงานปกติเกือบไม่มีแก๊ส ที่มีความเข้มข้นพอที่จะเกิดการระเบิดได้และถ้ามีแก๊สจะมีช่วงเวลาสั้นๆ เท่านั้น
Zone 20 (DUST) : บริเวณที่มีฝุ่นที่ลุกไหม้กระจายตัวอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ซึ่งไม่อนุญาติให้ใช้มอเตอร์
Zone 21 (DUST) : บริเวณที่ในการทำงานปกติอาจมีฝุ่นลุกไหม้ ที่มีความเข้มข้นพอที่จะเกิดระเบิดได้บ่อยๆ เนื่องจากการซ่อมแซมบำรุงรักษา หรือรั่ว
Zone 22 (DUST) : สถานที่ซึ่งในภาวะทำงานปกติเกือบไม่มีฝุ่นลุกไหม้ ที่มีความเข้มข้นพอที่จะเกิดการระเบิดได้และถ้ามีฝุ่นจะมีช่วงเวลาสั้นๆ เท่านั้น
การจำแนกเป็น Division
Division 1 : เป็นกลุ่มของพื้นที่ Zone 0, Zone 1, Zone 20, Zone 21
Division 2 : เป็นกลุ่มของพื้นที่ Zone 2. Zone 22
สามารถเปรียบเทียบการจำแนกบริเวณอันตรายระหว่าง Class, Division, Zone ได้ดังนี้
Hazrdous Materials | Class | Division System | Zone System |
---|---|---|---|
Gasses or Vapors | Class I | Division 1 | Zone 0, Zone 1 |
Class I | Division 2 | Zone 2 | |
Combustible Dusts | Class II | Division 1 | Zone 20, Zone 21 |
Class II | Division 2 | Zone 22 | |
Fiber or Flyings | Class III | Division 1 Division 2 |
No Equivalent |
เมื่อทราบว่าบริเวณอันตรายอยู่ในประเภทไหน ก็จะสามารถเลือกใช้มอเตอร์กันระเบิดที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานในบริเวณนั้นๆได้ โดยมอเตอร์กันระเบิดจะมีคุณสมบัติในการป้องกันที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งผู้ใช้งานจะต้องเลือกใช้มอเตอร์กันระเบิดที่อ้างอิงการป้องกันตามประเภทและชนิดของแก๊สที่อยู่ในบริเวณนั้น เพื่อความปลอดภัย