การบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้าเหนี่ยวนำ
ารบำรุงรักษามอเตอร์ไฟฟ้าเหนี่ยวนำ
โดยทั่วไปมอเตอร์จัดเป็นเครื่องจักรกลไฟฟ้าที่มีความน่าเชื่อถือในการทำงานค่อนข้างสูง โดยต้องการการบำรุงรักษาน้อย แต่อย่างไรก็ดีเพื่อเป็นการยืดอายุของมอเตอร์ให้สามารถทำงานได้ตลอดอายุการใช้งาน รวมถึงการทำให้มอเตอร์อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน จึงควรมีการดูแลรักษามอเตอร์อย่างถูกวิธีเป็นประจำ
สำหรับมอเตอร์ที่มีลักษณะการใช้งานอย่างต่อเนื่อง ควรได้รับการตรวจสอบและดูแลเป็นพิเศษซึ่งการดูแลมอเตอร์ในขณะที่ยังอยู่ในสภาพใช้งานอาจแบ่งเป็น 2 แนวทางดังนี้
1) การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Prevenive Maintenance : PM)
การบำรุงรักษาลักษณะนี้จะมีการตั้งเวลาชั่วโมงการทำงาน โดยแต่ละชั่วโมงการทำงานก็จะมีการเข้าทำการบำรุงรักษา เช่น ทุก 1,000 ชั่วโมง ให้มีการอัดจารบีปริมาณ 40 gm หรือทุก 2,000 ชั่วโมงให้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงถ่าน เป็นต้น ข้อเสียของการบำรุงรักษามอเตอร์แบบนี้คือ อาจเกิดเหตุการณ์ที่ถูกระบุในแผนการทำ PM ขึ้นก่อนเวลาที่ตั้งไว้ เช่น แปรงถ่านอาจแตกหักก่อนเวลา 2,000 ชั่วโมง ทำให้ต้องหยุดเดินมอเตอร์ก่อนเวลาที่ตั้งไว้
2) การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ (Predictive Maintenace)
การบำรุงรักษาลักษณะนี้จะทำโดยการตั้งเวลาชั่วโมงการทำงานเพื่อเข้าตรวจสอบส่วนต่างๆ ของมอเตอร์และนำผลการตรวจสอบนี้ไปวิเคราะห์ดูแนวโน้มของปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อหาแนวทางป้องกันความเสียหายหรือในเวลาในการหยุดเดินเครื่องมอเตอร์ได้ เช่น ชั่วโมงการทำงานที่ 500 กำหนดให้มีการตรวจวัดอุณหภูมิของแบริ่งและโครงมอเตอร์ หรือชั่วโมงการทำงานที่ 100 กำหนดให้มีการวัดค่าความสั่นสะเทือน เป็นต้น ข้อดีของการบำรุงรักษาด้วยวิธีนี้ คือช่วยให้ทราบประวัติของมอเตอร์ แนวโน้มของปัญหาที่จะเกิดขึ้น รวมถึงการวางแผนแก้ไขระยะยาว ซึ่งทำให้ประหยัดต้นทุนของอะไหล่และการหยุดเดินมอเตอร์โดยไม่จำเป็น