ที่มาของคำว่า “แรงม้า” ของมอเตอร์

ที่

มาของ “แรงม้า” (Hp – Horsepower) ที่ใช้เรียกหน่วยของมอเตอร์ไฟฟ้า หรือ เครื่องยนต์ ในอดีตจนถึงปัจจุบัน  เกิดขึ้นครั้งแรกในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมในประเทศอังกฤษ เมื่อ “เจมส์ วัตต์” (James Watt) นักวิทยาศาสตร์ชื่อดังชาวอังกฤษ ได้ปรับปรุงและพัฒนาเครื่องจักรไอน้ำรุ่นเก่าของ “โธมัส นิวโคเมน” (Thomas Newcomen) จนได้เป็นเครื่องจักรไอน้ำแบบใหม่ และวัตต์ได้ขอคิดค่าลิขสิทธิ์เท่ากับ 1 ใน 3 ของมูลค่าถ่านหินที่เครื่องจักรของเขาช่วยประหยัดได้เมื่อเทียบกับการใช้เครื่องจักรรุ่นเก่าของนิวโคเมน
.
แต่เนื่องจากมีผู้ใช้งานบางส่วนที่ใช้แรงงานสัตว์ขับเคลื่อนเครื่องจักร และไม่เคยใช้เครื่องจักรไอน้ำมาก่อน ทำให้ไม่สามารถคำนวณค่าลิขสิทธิ์ดังกล่าวได้ ดังนั้น วัตต์จึงต้องคำนวณพลังของม้าออกมา โดยการเปรียบเทียบหน่วยพลังงานของเครื่องจักรว่าสามารถทำงานแทนพลังงานสัตว์ เช่น ม้า ได้มากน้อยเพียงใด เพื่อคิดค่าลิขสิทธิ์กับลูกค้ากลุ่มนี้
.
ท้งนี้ วัตต์ได้คำนวณออกมาว่า ม้าสามารถหมุนเครื่องโม่แป้งที่มีรัศมี 12 ฟุต ได้ 144 ครั้งภายใน 1 ชั่วโมง หรือเท่ากับ 2.4 ครั้งต่อนาที เมื่อคิดโดยเทียบสูตรจะได้ กำลัง (p) = งาน (w) / เวลา (t) = [แรง (F) x ระยะทาง (d)] / เวลา (t) จึงได้ตัวเลขออกมาว่า 1 แรงม้า = [(180 ปอนด์) x (2.4 x 2π x 12 ฟุต)] / 1 นาที = 32,572 ฟุต-ปอนด์ต่อนาที ปัดเศษเป็น 33,000 ฟุต-ปอนด์ต่อนาที
.
อีกหนึ่งที่มาระบุว่า วัตต์เคยทำการทดลองและพบว่าโดยเฉลี่ยแล้วม้าแคระยกของน้ำหนัก 220 ปอนด์ ได้สูง 100 ฟุต ต่อ 1 นาที ในการทำงานเป็นกะ กะละ 4 ชั่วโมง ส่วนม้าตัวใหญ่มีกำลังมากกว่าม้าตัวเล็ก 50% ค่าแรงม้าที่ได้จึงได้เป็น 1.5 x 100 x 220 = 33,000 ฟุต-ปอนด์ต่อนาที
.
แม้ว่าเราจะได้ยินคำว่า “แรงม้า” กันอยู่ในวงการยานยนต์ที่ใช้ระบุกำลังของเครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน หรือในมอเตอร์ที่ผลิตจากอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ แต่หน่วยแรงม้าเป็นหน่วยวัดพลังงานรุ่นเก่าที่ไม่นิยมใช้กันแล้ว เนื่องจากมีหน่วย “วัตต์” (ได้มาจากชื่อ เจมส์ วัตต์) ซึ่งเป็นระบบหน่วยระหว่างประเทศ SI (The International System of Unit) ใช้กันแพร่หลายมากกว่า
.
ทั้งนี้ ประเทศในแถบยุโรปที่ใช้มาตรฐาน IEC รวมทั้ง มอก.ของไทย ได้กำหนดหน่วยของกำลังไฟฟ้ารวมทางขาออกของมอเตอร์เป็น “วัตต์” (Watt) หรือ “กิโลวัตต์” (Kilo-Watt) ซึ่งเมื่อเทียบค่าแรงม้าเป็นค่าตามระบบ SI จะได้ 1 แรงม้า = 745.69987158227022 วัตต์ ปัดเศษเป็น 746 วัตต์ หมายความว่า หากใช้ม้า 1 ตัวปั่นไฟให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เราจะได้กระแสไฟฟ้าออกมาต่อเนื่อง 746 วัตต์ นั่นเอง 

สินค้าแนะนำ !

High Efficiency Motor IE2, IE3

มอเตอร์ประสิทธิภาพสูง CMG มาตรฐานออสเตรเลีย ประหยัดค่าไฟ ได้รับฉลากประสิทธิภาพสูง

มอเตอร์กันระเบิด CMG

ผลิตภัณฑ์มอเตอร์กันระเบิด CMG สำหรับการใช้งานใน Zone1, Zone2 พร้อมใบรับรอง

Promotion !

มอเตอร์ Marathon (IEC Standard) ราคาพิเศษ มีทั้งแบบ EFF1 และ EFF2 มีสินค้าพร้อมส่งทันที รับประกันสินค้า 18 เดือน



ขอใบเสนอราคา

ติดต่อเรา

ต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ สามารถส่งข้อความผ่านทางช่องทางนี้ โดยทางทีมงานจะติดต่อกลับท่านโดยเร็วที่สุด

Don`t copy text!
185241โรงงานข้าวนครหลวง_1